1. GENOME คืออะไร? Genome หรือ จีโนม คือข้อมูลทางพันธุกรรม (DNA) ทั้งหมดของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เป็นตัวกำหนดว่าร่างกาย หน้าตา รูปร่าง และอวัยวะของคุณจะทำงานอย่างไร แต่ในเมื่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีจีโนม แล้วทำไมสัตว์แต่ละชนิดถึงแตกต่างกัน ทำไมเราไม่มีปีกบินได้เหมือนนก? ทำไมเราถึงหายใจในน้ำเหมือนปลาไม่ได้? แม้กระทั่งมนุษย์ด้วยกันเองเราทุกคน หน้าตา ความสูง ก็ไม่เหมือนอีก นั่นก็เพราะว่าทุกสิ่งมีชีวิตจะมีจีโนมเฉพาะของตนเอง ทำให้สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดต่างกันออกไป ส่วนมนุษย์ แม้เราทุกคนจะมีจีโนมก็จริง แต่ก็ยังมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละครอบครัว ประโยคที่ว่า ‘หน้าตาเหมือนพ่อเหมือนแม่เลย’ นั้นไม่ใช่เรื่องบังเอิญ เนื่องจากมนุษย์เราจะได้จีโนมมาจากทั้พ่อและแม่อย่างละครึ่ง ทำให้เรามีสีตา ความสูง รวมถึงความเสี่ยงในการเป็นโรคต่าง ๆ ที่บรรพบุรุษเราเป็นด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งถ้าเรามีลูก ลูกของเราก็จะมีจีโนมของเราและคู่ของเราอย่างละครึ่ง เป็นแบบนี้ไปเรื่อย ๆ นั่นเอง ทำไม Genome ถึงสำคัญ?? ตามที่อ่านกันไปข้างบนว่าทุกสิ่งมีชีวิตจะมีจีโนมเฉพาะของตนเอง การศึกษาจีโนมจะช่วยให้นักวิจัยเข้าใจและสามารถตรวจสอบความผิดปกติทางพันธุกรรมเช่น โรคมะเร็ง หรือโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมต่าง ๆ ได้ คิดดูง่าย ๆ ว่าคนที่เป็นโรคมะเร็งก็จะมีจีโนมที่ไม่ต่างกับคนที่ไม่เป็นโรคมะเร็ง ด้วยความแตกต่างนี้เองทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนายาที่มีประสิทธิภาพต่อโรคร้ายและยาที่เหมาะกับการรักษารายบุคคลได้ (Precision […]
สถานการณ์โรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากมดลูกถือเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สําคัญเนื่องจากเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของผู้หญิงทั่วโลก ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สถานการณ์โรคมะเร็งปากมดลูกถือเป็นปัญหาที่สําคัญของหลายประเทศเช่นเดียวกัน จากสถิติในแต่ละปีจะพบผู้ป่วยใหม่ราว 62,406 ราย และผู้ป่วยครึ่งหนึ่งของจํานวนนี้จะเสียชีวิตลง โดยประเทศอินโดนีเซียมีอุบัติการณ์การเกิดโรคสูงที่สุด 23.4 ราย ต่อประชากร 100,000 ราย สําหรับประเทศไทยมะเร็งปากมดลูกพบมากเป็นอันดับ 3 รองจากมะเร็งเต้านม และมะเร็งตับ โดย ส่วนใหญ่พบในผู้หญิงอายุระหว่าง 35-60 ปี จากรายงาน สํานักนโยบายและยุทธศาสตร์ ระบุว่าในปี พ.ศ. 2560 มีจํานวนผู้เสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกประมาณ 2,251 คน หรือคิดเป็น 6.8 ราย ต่อประชากร 100,000 ราย สาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูก ข้อมูลทางการแพทย์ระบุว่าการติดเชื้อ HPV (Human papillomavirus, HPV) เป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้เกิดมะเร็งปากมดลูก เชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) […]
วิจัยโรคร้ายด้วยการมองดูเซลล์ กับ Single-Cell Analysis อะไรคือ cell ? Cell เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กที่สุดในร่างกาย ซึ่งสามารถเพิ่มจำนวน และตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้ ซึ่งเซลล์ในร่างกายของมนุษย์วัยทำงานจะมีจำนวนถึง 40 ล้านล้านเซลล์ และด้วยพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของแต่ละคนที่ต่างกัน ทำให้เซลล์ในร่างกายของคนเราไม่เหมือนกันด้วย Single-Cell Analysis ที่ผ่านมาได้มีการศึกษาเซลล์ในร่างกายเพื่อวิเคราะห์ว่าร่างกายของผู้ป่วยในโรคต่าง ๆ มีจำนวนเซลล์อะไรบ้างที่ผิดปกติจากคนทั่วไป จึงมีการวิเคราะห์เซลล์เดี่ยว (Single-Cell Analysis) ที่จะช่วยให้สามารถศึกษาการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ภายในกลุ่มเซลล์ (อวัยวะหรือเนื้อเยื่อต่าง ๆ )ได้อย่างละเอียดขึ้น ดังนั้นแล้ว การวิจัยค้นคว้าโรคร้ายต่าง, การพัฒนายารักษาหรือการวิเคราะห์ความแตกต่างของเซลล์ จึงจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์เซลล์เดี่ยวในเชิงลึก แต่เนื่องจากเทคโนโลยีสมัยก่อนที่ยังไม่ก้าวหน้ามาก การที่จะวิเคราะห์เซลล์เดี่ยวจึงใช้เวลานาน แต่ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน การวิเคราะห์เซลล์เดี่ยวสามารถทำได้ด้วยเวลาที่รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น ด้วยเทคโนโลยี Next GEM (The Next GEM technology) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้กระบวนการวิเคราะห์เซลล์เดี่ยวเกิดความรวดเร็ว แม่นยำ น่าเชื่อถือ โดยการสร้างพาร์ติชันเซลล์เดี่ยวได้ถึงหลายแสนพาร์ติชัน แต่ละพาร์ติชันจะมีบาร์โค้ดที่ใช้ระบุต่อไปยังการวิเคราะห์ในขั้นต่อไป บวกกับระบบนำส่งน้ำยาและระบบในการวิเคราะห์ที่มาพร้อมกับตัวเครื่อง ทำให้สามารถค้นพบและเข้าถึงข้อมูลทางชีวภาพที่ยังไม่เคยถูกเข้าถึงมาก่อนได้ […]
Personalized Medicine คืออะไร ? หากไปที่ร้านเสื้อผ้า ทุกคนคิดว่าเด็กชายวัยรุ่นจะซื้อเสื้อผ้าแบบเดียวกับคุณยายหรือไม่? แน่นอนว่าคำตอบคือไม่ แต่ทำไมเมื่อพวกเขาเจ็บป่วย ทั้งคู่กลับได้รับการรักษาพยาบาลแบบเดียวกัน จ่ายยารักษาโรคที่เหมือนกัน เพราะว่าการรักษาโรคและ การจ่ายยาเพื่อรักษาโรคในปัจจุบัน กำหนดโดยใช้ค่าเฉลี่ยทางสถิติ ดังนั้นจึงใช้ได้กับผู้ป่วยบางราย แต่ไม่ใช่สำหรับผู้ป่วยทุกราย เนื่องจากความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างประชากร ผลกลายเป็นว่าคุณยายอาการทุเลาลงกว่าเด็กชาย ซึ่งนั่นอาจจะเป็นเพราะ ร่างการของคุณยายตอบสนองต่อยาชนิดนั้นได้ดี เลยทำให้หายไวกว่าเด็กชาย หรือบางทีร่างกายของเด็กชายอาจจะไม่ตอบสนองต่อยานั้นเลย หรือถ้าขั้นร้ายแรงที่สุดคือเกิดอาการแพ้ยาได้ จึงได้เกิดแนวคิดทางแพทย์แบบใหม่ขึ้นเรียกว่า personalized medicine การรักษาที่ถูกออกแบบมาเพื่อคุณโดยเฉพาะ เปรียบเหมือนกับการตัดสูท ตัดเสื้อผ้าตามขนาดรูปร่างความชอบของแต่ละบุคคลนั้นเอง Personalized medicine หรือ Precision Medicine เป็นการเลือกการรักษาทางการแพทย์และการให้ยาในปริมาณที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วยแบบจำเพาะต่อบุคคล personalized medicine ในด้านที่เกี่ยวกับยาเป็นการตรวจให้รู้ว่าคนคนนั้นมีความผิดปกติทางพันธุกรรมที่จะส่งผลให้ร่างกายของเขาตอบสนองต่อยาบางชนิดมากหรือน้อยกว่าคนทั่วไปหรือไม่ เพื่อให้คุณหมอปรับเปลี่ยนชนิดและขนาดยาให้เหมาะสมกับตัวคนไข้ต่อไป โดยคุณหมอสามารถทำนายว่าคนไข้จะมีการตอบสนองอย่างไรต่อการรักษา ด้วยการวิเคราะห์ความแตกต่างทางพันธุกรรมในยีนที่ควบคุมการออกฤทธิ์ของยา […]
Precision Medicine คืออะไร ? Precision Medicine หรือ “ การแพทย์แม่นยำ ” เป็นแนวความคิดใหม่ทางการแพทย์ ในการวินิจฉัย การป้องกันและการรักษาโรคที่ออกแบบมาเฉพาะบุคคล ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีการถอดรหัสพันธุกรรมของมนุษย์ (DNA sequencing) ที่ลงรายละเอียดลึกระดับDNA โดยคำนึงถึงความผิดปกติของยีน สภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตของแต่ละบุคคล ช่วยในการรักษาแบบกำหนดเป้าหมายเฉพาะบุคคล ช่วยเพิ่มอัตรารอดและหายจากโรคที่รักษายาก เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงสุขภาพของประชาชน เป็นแนวความคิดใหม่ทางการแพทย์ที่นำเอาข้อมูลพันธุกรรมหรือข้อมูลในระดับโมเลกุล ของผู้ป่วยมาประมวลผลมาใช้ในการตรวจวินิจฉัย การเลือกรูปแบบการรักษา การเลือกใช้ยา สามารถนำไปประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและช่วยวางแผนการป้องกันด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวันให้ห่างไกลโรค โดยมียุทธศาสตร์ที่สำคัญคือการรักษาแบบจำเพาะของแต่ละบุคคล ซึ่งถูกกำหนดอยู่บนรหัสพันธุกรรม อาศัยข้อมูลเชิงลึกทางพันธุกรรม เพื่อประเมินความเสี่ยง ลงรายละเอียดระดับยีนหรือระดับ DNA ของรายบุคคล ซึ่งความแม่นยำมีการพัฒนามากขึ้นเรื่อย ๆ “การแพทย์แม่นยำ” จะเน้นการรักษาที่กลไกการเกิดโรคของแต่ละบุคคล จึงสามารถลดผลข้างเคียงของการรักษาได้ดีกว่าและมีความแม่นยำกว่า ในขณะที่การแพทย์ที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบันจะเป็นการรักษาตามอาการเพียงเท่านั้น 3 ข้อดีของ Precision Medicine […]
Non-Invasive Prenatal Testing (NIPT) คืออะไร? สำหรับคุณแม่และว่าที่คุณแม่ทุกคนย่อมต้องอยากรู้ว่าลูกน้อยในครรภ์ของตนมีสุขภาพแข็งแรงหรือไม่ มีความผิดปกติทางพันธุกรรมไหม หลายคนอาจเคยได้ยินเกี่ยวกับการวิธีตรวจคัดกรองในแบบต่างๆมาบ้าง ในบทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับวิธี Non-Invasive Prenatal Testing (NIPT) ซึ่งเป็นวิธีกำลังได้ความนิยมที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ทำความรู้จักกับ NIPT NIPT ย่อมาจาก Non-Invasive Prenatal Testing แปลตามตัวคือการตรวจคัดกรองหาความผิดปกติทางพันธุกรรมของทารกในครรภ์ก่อนคลอดแบบไม่รุกล้ำ โดยใช้หลักการ “ตรวจพันธุกรรมของลูกจากเลือดของแม่” วิธี NIPT เป็นวิธีที่ #ปลอดภัย เนื่องจากวิธี NIPT จะใช้แค่ตัวอย่างเลือดของคุณแม่เพียงเล็กน้อย ไม่ต้องเก็บตัวอย่างจากรกโดยตรง ทำให้วิธี NIPT นี้ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ #รู้ล่วงหน้า วิธี NIPT สามารถทำให้คุณแม่ทราบถึงสุขภาพลูกน้อยได้อย่างรวดเร็ว เพราะสามารถตรวจคัดกรองได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ขึ้นไป และใช้เวลาในการตรวจเพียง 1-2 สัปดาห์ (ขึ้นกับผู้ให้บริการ) #แม่นยำ วิธี NIPT เป็นวิธีที่มีความแม่นยำและความจำเพาะสูง ทำไมต้องตรวจ NIPT? […]
#ปอดอักเสบ อันตรายกว่าที่คิด 😷❗ 📌เชื่อว่าทุกคนคงเคยได้ยินอาการ “ปอดอักเสบ” หรือ “ปอดบวม” กันมาบ้างนะครับ ชื่อภาษาอังกฤษของโรคนี้เรียกว่า Pneumonia สาเหตุของโรคเกิดมาจาก #การติดเชื้อ #แบคทีเรีย #ไวรัส #เชื้อรา 🦠🧫☣️ (เช่น Streptococcus pneumonia/ Acinetobacter baumannii/ Pseudomonas spp./ Klebsiella pneumonia) ในทางเดินหายใจ จนลงสู่ปอด 📌โรคปอดอักเสบนี้จะแบ่งตามแหล่งที่มาของเชื้อได้ 2 ชนิดคือ โรคปอดอักเสบในชุมขน และ โรคปอดอักเสบในโรงพยาบาล โรคนี้โรคติดเชื้อที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตมากที่สุดทั่วโลกเป็นโรคที่พบบ่อยและมีอันตรายสูง มักเกิดแทรกซ้อน พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ (>65 ปี) และเด็กทารกแรกคลอด (0-4 ปี) (1*) มีรายงานหนึ่งนะครับพบว่าอัตราการเสียชีวิตของโรคปอดอักเสบในโรงพยาบาลสูงถึง 29.4% (2*)❗⚠️ นอกจากนี้ปัญหาที่พวกเราชาวโลกกำลังเผชิญคือโรค COVID-19 ที่เกิดจากเชื้อ SARS-CoV-2 ก่อให้เกิดการเสียชีวิตจำนวนมากจากอาการปอดอักเสบ ☣️ 📌ปัจจัยที่ทำให้มีอัตราการเสียชีวิตยังสูงมาจาก – การวินิจฉัย เนื่องจากโรคปอดอักเสบมีสาเหตุเกิดได้จากเชื้อโรคหลายขนิด […]
การหาลำดับเบสด้วยวิธี Next Generation Sequencing (NGS) Unlocking Power of Genome ลักษณะของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกนี้ไม่ว่าจะเป็น ส่วนสูงของมนุษย์ที่แตกต่างกัน ความสามารถในการรับประทานอาหารของเราและคนใกล้ตัว หรือแม้แต่สีขนของน้องแมวที่ต่างกัน ล้วนถูกกำหนดจากลำดับเบสในสารพันธุกรรม [ดีเอ็นเอ (DNA) และ อาร์เอ็นเอ (RNA)] หมายความว่าถ้ามีวิธีที่สามารถรู้ลำดับสารพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิตได้ ก็เปรียบเสมือนได้ไขรหัสลับในสิ่งมีชีวิตและนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆได้ Next Generation Sequencing (NGS) เทคนิค Next Generation Sequencing หรือที่นิยมเรียกกันสั้นๆว่า NGS ถูกพัฒนาขึ้นมาให้การหาลำดับเบส เป็นเรื่องง่ายขึ้น ด้วยความที่สามารถหาลำดับเบสด้วยความไวสูง (High Sensitivity) ได้ในปริมาณมาก (High throughput) พร้อมๆกันหลายตัวอย่าง (Multiplex) จากการทำหนึ่งครั้ง ทำให้เทคนิค NGS ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในงานด้านต่างๆ เช่น การศึกษาโรคทางพันธุกรรม (Genetic diseases) การตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์ (Forensic) การศึกษาทางจุลชีววิทยา (Microbiology) การศึกษาอนามัยเจริญพันธุ์ (Reproductive […]
❗️ทำไมเราควรระวัง COVID-19 สายพันธุ์อังกฤษ (B.1.1.7; 20I/501Y.V1)⚠️ 📌สวัสดีครับแอดมินเชื่อว่าตอนนี้ทุกคนคงทราบข่าวกันแล้วเกี่ยวกับระบาดของเชื้อ COVID-19☣️ “ระลอกใหม่” ในบ้านเรา ซึ่งทางคุณหมอ ยง จาก รพ.จุฬาลงกรณ์ ได้แจ้งแล้วว่าเป็น “การระบาดของเชื้อสายพันธุ์อังกฤษ B.1.1.7” ☣️ วันนี้แอดมินจะขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ทำไมเราควรต้องระวังมากกว่าเดิม ทำไมสายพันธุ์อังกฤษถึงน่ากลัวกว่าเดิม 📌ก่อนอื่นต้องบอกเลยว่าอาวุธสำคัญของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ใช้ในการรุกรานมนุษย์ก็คือโปรตีน Spike (หรือหนามบนตัวไวรัส) ไวรัสจะใช้โปรตีน Spike จับกับเซลล์ทางเดินหายใจมนุษย์ ทำให้เกิดการติดเชื้อ แต่!! เมื่อเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ในพันธุกรรมจะทำให้โปรตีน Spike เปลี่ยนไป แล้วมันส่งผลยังไงบ้าง❓ มีงานวิจัยระบุว่า 1) ทำให้เชื้อไวรัสเข้าเซลล์มนุษย์ได้ดีขึ้นแพร่กระจายง่ายขึ้น 🧫 2) เนื่องจากโปรตีน Spike เป็นสิ่งสำคัญที่นักวิจัยมาใช้พัฒนาวัคซีนดังนั้น การกลายพันธุ์ครั้งนี้ทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนที่มีอยู่ลดลง💉 3) ชุดน้ำยาตรวจบางชนิดที่ไม่สามารถตรวจยีนของโปรตีน Spike ที่กลายพันธุ์ได้🔬🩺 ✅ สุดท้ายนี้หากท่านใดสนใจเทคโนโลยี NGS และชุดน้ำยาตรวจของบริษัท illumina ที่สามารถตรวจหาลำดับพันธุกรรมทั้งหมดของเชื้อ COVID-19 ซึ่งสามารถตรวจพบได้ทุกสายพันธุ์ที่กลายพันธุ์ […]
How many vaccine type? How difference are they? Hello everyone, today Mr. Active will answer following questions that are arising widely in Thailand, How many types of available COVID-19 vaccine? How difference are they? Which one in the best? In order to understand.