เคยได้ยินสำนวนไทยว่า หนามยอกให้เอาหนามบ่งไหมครับ?
ใบบทความที่แล้วเราว่ากันไปถึงเรื่องของการรักษาด้วยภูมิคุ้มกัน หรือ ภูมิคุ้มกันบำบัดใช่ไหมครับ? วันนี้เรายังอยู่เรื่องนี้แหละ แต่เป็นแบบ Advance กว่าเดิม
หลายๆ คนคงรู้ดีว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งจะมีการตอบสนองต่อการรักษาต่างกัน คือต่อให้เป็นมะเร็งชนิดเดียวกัน รักษาด้วยยาตัวเดียวกัน ขนาดเท่ากัน ก็ตอบสนองต่างกัน
ใครจะรู้จักเราเท่ากับตัวเราเอง? จะเกิดอะไรขึ้นถ้าสามารถพัฒนาภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยเองไปสู้กับเซลล์มะเร็ง การรักษาแบบนี้เป็นเทคนิคขั้นสูงที่เรียกว่าการรักษาด้วยเซลล์ CAR-T
การรักษาด้วยเซลล์ CAR-T เป็นวิธีที่เอาเลือดของผู้ป่วยมะเร็งเองที่รู้จักมะเร็งในตัวดีที่สุด มาเลี้ยงในห้องแลบและพัฒนาให้จำเพาะเจาะจงกับเซลล์มะเร็งในร่างกายมากที่สุด สำหรับในต่างประเทศพบว่า การรักษาด้วยเซลล์ CAR-T ให้ผลการรักษาดีกว่าการรักษาเดิมๆ ถึง 70% โดยวิธีนี้สามารถนำมาใช้รักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งเม็ดเลือดขาวบางชนิด ที่ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการปกติ
สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันมีการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง ที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นที่แรกในประเทศที่มีการพัฒนาเซลล์ในโรงพยาบาลเอง ที่ได้การรับรองจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้ว โดยทำงานด้วยร่วมทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Nagoya จากประเทศญี่ปุ่น มีเป้าหมายเพื่อที่จะพัฒนาให้การใช้ CAR-T มีประสิทธิภาพและราคาต่ำที่สุด
อ้างอิง
- CAR T Cells: Engineering Patients’ Immune Cells to Treat Their CancersCAR T Cells: Engineering Patients’ Immune Cells to Treat Their Cancers. https://www.cancer.gov/about-cancer/treatment/research/car-t-cells. March 10, 2022
- Sermer et al. Outcomes in patients with DLBCL treated with commercial CAR T cells compared with alternate therapies. Blood Adv (2020) 4 (19): 4669–4678.
- Nitikarn Papronpat. Chula Makes Progress in “CAR T-Cell Therapy” Innovation: New Hope for Thai Lymphoma Cancer Patients. 3 April 2023. https://www.chula.ac.th/en/highlight/110508/
- Suradej Hongeng. CAR T-Cell Therapy: Empowering Pediatric Cancer Treatment. Jul 20, 2023. https://www.samitivejhospitals.com/article/detail/car-t-cell-for-pediatric-cancer-treatment-thailand