ภาพรวมโครงการจีโนมิกส์ประเทศไทย
Genomics Thailand หรือ จีโนมิกส์ประเทศไทย เป็นโครงการวิจัยด้านสุขภาพ เพื่อรวบรวมและสร้างฐานข้อมูลพันธุกรรมขนาดใหญ่ของคนไทย เพื่อให้นักวิจัยใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการศึกษาวิจัยในอนาคตเกี่ยวกับสุขภาพของคนไทย ทำให้ประชาชนได้รับการวินิจฉัย การรักษาอย่างจำเพาะและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งหมดนี้เป็นแผนปฏิบัติการ เพื่อผลักดันให้เกิดกิจกรรมการแพทย์ระดับจีโนมในประเทศไทย เพื่อที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นผู้นำอาเซียนด้านการรักษา 5 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคหายาก โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรคติดเชื้อ และเภสัชพันธุศาสตร์ โดยดำเนินการถอดรหัสพันธุกรรมทั่วจีโนมของประชากรไทยจำนวน 50,000 รายภายในระยะเวลา 5 ปี และเริ่มการถอดรหัสพันธุกรรมเมื่อประมาณเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 และในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 ทางโครงการได้ถอดรหัสพันธุกรรมคนไทยไปแล้วมากกว่า 20,000 ราย ความสำเร็จที่เกิดขึ้นนั้นได้จาก อาสาสมัคร ความร่วมมือของนักวิจัย แพทย์ และ นักวิทยาศาสตร์ จากหลากหลายหน่วยงานทั่วประเทศไทยที่ได้ทำการ เก็บเลือดให้ความรู้กับอาสาสมัคร สกัดดีเอ็นเอที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 20,000 รายนี้เป็นความก้าวหน้าที่สำคัญของประเทศซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของการบริการการแพทย์แม่นยำ รวมถึงโอกาสทางธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีจีโนมิกส์ วันนี้ ไทยเรามีโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญต่อการบริการ กล่าวคือ 1 การสกัดดีเอ็นเอคุณภาพสูง 2 การถอดรหัสพันธุกรรมปริมาณมากด้วยเทคโนโลยี SrWGS หรือ short read whole genome sequencing 3 โครงสร้างพื้นฐานด้านการประมวลผลข้อมูลจีโนมมนุษย์ที่ NBT และ 4 แพทย์และนักวิจัยที่สามารถแปลผลการประมวลผล และให้คำแนะนำ genetic counselors