สถานการณ์โรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากมดลูกถือเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สําคัญเนื่องจากเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของผู้หญิงทั่วโลก ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สถานการณ์โรคมะเร็งปากมดลูกถือเป็นปัญหาที่สําคัญของหลายประเทศเช่นเดียวกัน จากสถิติในแต่ละปีจะพบผู้ป่วยใหม่ราว 62,406 ราย และผู้ป่วยครึ่งหนึ่งของจํานวนนี้จะเสียชีวิตลง โดยประเทศอินโดนีเซียมีอุบัติการณ์การเกิดโรคสูงที่สุด 23.4 ราย ต่อประชากร 100,000 ราย สําหรับประเทศไทยมะเร็งปากมดลูกพบมากเป็นอันดับ 3 รองจากมะเร็งเต้านม และมะเร็งตับ โดย ส่วนใหญ่พบในผู้หญิงอายุระหว่าง 35-60 ปี จากรายงาน สํานักนโยบายและยุทธศาสตร์ ระบุว่าในปี พ.ศ. 2560 มีจํานวนผู้เสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกประมาณ 2,251 คน หรือคิดเป็น 6.8 ราย ต่อประชากร 100,000 ราย สาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูก ข้อมูลทางการแพทย์ระบุว่าการติดเชื้อ HPV (Human papillomavirus, HPV) เป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้เกิดมะเร็งปากมดลูก เชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) […]
Monthly Archives: May 2023
วิจัยโรคร้ายด้วยการมองดูเซลล์ กับ Single-Cell Analysis อะไรคือ cell ? Cell เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กที่สุดในร่างกาย ซึ่งสามารถเพิ่มจำนวน และตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้ ซึ่งเซลล์ในร่างกายของมนุษย์วัยทำงานจะมีจำนวนถึง 40 ล้านล้านเซลล์ และด้วยพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของแต่ละคนที่ต่างกัน ทำให้เซลล์ในร่างกายของคนเราไม่เหมือนกันด้วย Single-Cell Analysis ที่ผ่านมาได้มีการศึกษาเซลล์ในร่างกายเพื่อวิเคราะห์ว่าร่างกายของผู้ป่วยในโรคต่าง ๆ มีจำนวนเซลล์อะไรบ้างที่ผิดปกติจากคนทั่วไป จึงมีการวิเคราะห์เซลล์เดี่ยว (Single-Cell Analysis) ที่จะช่วยให้สามารถศึกษาการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ภายในกลุ่มเซลล์ (อวัยวะหรือเนื้อเยื่อต่าง ๆ )ได้อย่างละเอียดขึ้น ดังนั้นแล้ว การวิจัยค้นคว้าโรคร้ายต่าง, การพัฒนายารักษาหรือการวิเคราะห์ความแตกต่างของเซลล์ จึงจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์เซลล์เดี่ยวในเชิงลึก แต่เนื่องจากเทคโนโลยีสมัยก่อนที่ยังไม่ก้าวหน้ามาก การที่จะวิเคราะห์เซลล์เดี่ยวจึงใช้เวลานาน แต่ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน การวิเคราะห์เซลล์เดี่ยวสามารถทำได้ด้วยเวลาที่รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น ด้วยเทคโนโลยี Next GEM (The Next GEM technology) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้กระบวนการวิเคราะห์เซลล์เดี่ยวเกิดความรวดเร็ว แม่นยำ น่าเชื่อถือ โดยการสร้างพาร์ติชันเซลล์เดี่ยวได้ถึงหลายแสนพาร์ติชัน แต่ละพาร์ติชันจะมีบาร์โค้ดที่ใช้ระบุต่อไปยังการวิเคราะห์ในขั้นต่อไป บวกกับระบบนำส่งน้ำยาและระบบในการวิเคราะห์ที่มาพร้อมกับตัวเครื่อง ทำให้สามารถค้นพบและเข้าถึงข้อมูลทางชีวภาพที่ยังไม่เคยถูกเข้าถึงมาก่อนได้ […]