Respiratory Pathogen ID/AMR Panel Kit

#ปอดอักเสบ  อันตรายกว่าที่คิด 😷❗

📌เชื่อว่าทุกคนคงเคยได้ยินอาการ “ปอดอักเสบ” หรือ “ปอดบวม” กันมาบ้างนะครับ ชื่อภาษาอังกฤษของโรคนี้เรียกว่า Pneumonia สาเหตุของโรคเกิดมาจาก #การติดเชื้อ #แบคทีเรีย #ไวรัส #เชื้อรา 🦠🧫☣️ (เช่น Streptococcus pneumonia/ Acinetobacter baumannii/ Pseudomonas spp./ Klebsiella pneumonia) ในทางเดินหายใจ จนลงสู่ปอด

📌โรคปอดอักเสบนี้จะแบ่งตามแหล่งที่มาของเชื้อได้ 2 ชนิดคือ โรคปอดอักเสบในชุมขน และ โรคปอดอักเสบในโรงพยาบาล โรคนี้โรคติดเชื้อที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตมากที่สุดทั่วโลกเป็นโรคที่พบบ่อยและมีอันตรายสูง มักเกิดแทรกซ้อน พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ (>65 ปี) และเด็กทารกแรกคลอด (0-4 ปี) (1*) มีรายงานหนึ่งนะครับพบว่าอัตราการเสียชีวิตของโรคปอดอักเสบในโรงพยาบาลสูงถึง 29.4% (2*)❗⚠️

นอกจากนี้ปัญหาที่พวกเราชาวโลกกำลังเผชิญคือโรค COVID-19 ที่เกิดจากเชื้อ SARS-CoV-2 ก่อให้เกิดการเสียชีวิตจำนวนมากจากอาการปอดอักเสบ ☣️

📌ปัจจัยที่ทำให้มีอัตราการเสียชีวิตยังสูงมาจาก

– การวินิจฉัย

เนื่องจากโรคปอดอักเสบมีสาเหตุเกิดได้จากเชื้อโรคหลายขนิด ไม่ว่าจะ แบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัส  การที่จะเพาะเชื้อเพื่อให้รู้ถึงต้นตอของอาการอาจทำได้ #ช้า เนื่องจากเชื้อบางชนิดมีการเพาะเลี้ยงยากและมีขั้นตอนที่ซับซ้อน และหากการเพาะเชื้อครั้งแรกไม่ใช่ตัวที่สันนิษฐาน ก็ต้องมีการเพาะเชื้อใหม่ ทำให้ใช้เวลานาน

– การดื้อยา

ในปัจจุบันพบการดื้อยาปฏิชีวนะของเชื้อโรคเหล่านี้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยื่งเชื้อโรคที่อยู่ในโรงพยาบาล เนื่องจากมีการใช้ยาปฏิชีวนะเกินขนาด และ ในบางครั้งใช้อย่างไม่เฉพาะเจาะจง เนื่องจากยังไม่ทราบถึงต้นตอของเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดอาการ

📢บริษัท Illumina ได้พัฒนาชุดน้ำยาในการวิเคราะห์หาสารพันธุกรรมของเชื้อโรคในทางเดินหายใจโดยอาศัยเทคโนโลยี NGS ชื่อ “Respiratory Pathogen ID/AMR” หรือที่เรียกสั้นๆว่า RPIP📢

RPIP มีข้อดีอย่างไร❓

✅ สามารถวิเคราะห์หาสารพันธุกรรมของเชื้อก่อโรคได้ #มากกว่า280สายพันธุ์ [แบ่งเป็น แบคทีเรีย > 180 สายพันธุ์/ ไวรัส > 40 สายพันธุ์/ เชื้อรา > 50 สายพันธุ์

✅ #สามารถวิเคราะห์หาเชื้อไวร้ส #SARSCoV2 ที่ก่อให้เกิดโรค COVID-19 ได้ และยัง #แยกสายพันธุ์ของSARSCoV2 ได้

✅ ใช้เวลาเพียง 14 ชั่วโมง ตลอดกระบวนการ * (ขึ้นกับเครื่อง Sequencer ที่ใช้)

✅ สามารถวิเคราะห์และระบุการดื้อยาของเชื้อโรคที่ตรวจพบได้  ซึ่งอาจนำไปสู่การพัฒนาแนวทางการรักษาที่แม่นยำ (Precision Medicine) ได้อย่างรวดเร็ว

🌐 รายชื่อเชื้อโรค/การดื้อยา ที่ชุด RPIP สามารถวิเคราะห์ได้

อ้างอิง

  1. Tanit Jaikran and Neeranuch Wongcharoen. Incidence Rates and Impact of Pneumonia in Pong Hospital. Journal of The Royal Thai Army Nurses. Vol. 22 No.1 January – Aprit 2021
  2. Pharita Boonraksa et al. Hospital-acquired pneumonia in adults Etiology and prevalence of antibiotic resistance in 2012- 2013 at Suratthani Hospital. Journal of Health Systems Research. Vol. 7 No. 2 Apr.-Jun. 2013

📌สนใจเทคโนโลยีชุดน้ำยา RPIP ของ Illumina คิดถึง Bio-Active นะครับ🙏👍

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คลิก

This entry was posted in News and tagged .